โทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน
ข้อดี
1) ใช้สื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา ได้ทุกสถานที่และรวดเร็ว
2) โทรศัพท์มือถือสามารถทำได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น สื่อสาร ส่งข้อความ ถ่ายรูป ฟังเพลงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ข้อเสีย
หากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่เป็นทำให้เกิดโรคใหม่ๆ ตามมาหลายโรค โดยโรคที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบในเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตคนไทย ได้แก่
1) โรคเห่อตามแฟชั่น ที่ต้องเปลี่ยนไปตามรุ่นต่างๆ
2) โรคทรัพย์จาง เพราะต้องหาเงินมาซื้อรุ่นใหม่ บางคนถึงขั้นกู้หนี้ยืมสิน
3) โรคขาดความอดทนและใจร้อน
เนื่องจากคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือกดปุ๊บต้องติดปั๊บ ทำให้คนกลายเป็นคนไม่มีความอดทน แม้แต่เรื่องเล็กๆ เช่น นัดเพื่อนไว้ถ้าช้าแค่ 5 นาที ก็ต้องโทรตามหลายครั้ง จึงกลายเป็นคนเร่งรีบ ร้อนรน และไม่รอบคอบ
4) โรคขาดกาลเทศะและไร้มารยาท
ซึ่งการโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูดทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นประชุม นอน รับประทานอาหาร หรือวันหยุดพักผ่อนโดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร บางคนโทรขายประกัน ขายเครื่องกรองน้ำ ชวนสมัครบัตรเครดิตต่างๆ ที่ไม่รู้จักกัน ทำให้ผู้รับสายเกิดความรำคาญใจ
5) โรคขาดมนุษยสัมพันธ์
คนส่วนใหญ่จะใช้มือถือพูดคุยกันกับญาติสนิท ขาดความใส่ใจที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น หลบมุมโทรไปคุยกับเพื่อน/แฟนแทนที่จะคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือทำกิจกรรม ทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านห่างเหิน ซึ่งจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคมมีโลกของตัวเองและเป็นโรคติดโทรศัพท์ในที่สุด
6) โรคไม่จริงใจ
เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ไม่ต้องเห็นหน้าตา ท่าทาง สายตาและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ทำให้หลายคนสามารถใช้คำหวานหลอกลวง หรือพูดโกหกผู้อื่นหรือนิยมส่ง SMS ไปยังอีกฝ่าย ทำเสมือนรักใคร่ ผูกพันหรือห่วงใย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น